เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [11. ทสุตตรสูตร] ธรรม 9 ประการ

3. อาหาเร ปฏิกูลสัญญา (ความกำหนดหมายความปฏิกูลใน
อาหาร)
4. สัพพโลเก อนภิรตสัญญา (ความกำหนดหมายความไม่น่า
เพลิดเพลินในโลกทั้งปวง)
5. อนิจจสัญญา (ความกำหนดหมายความไม่เที่ยงแห่งสังขาร)
6. อนิจเจ ทุกขสัญญา (ความกำหนดหมายความเป็นทุกข์ในความ
ไม่เที่ยงแห่งสังขาร )
7. ทุกเข อนัตตสัญญา (ความกำหนดหมายความเป็นอนัตตาใน
ความเป็นทุกข์)
8. ปหานสัญญา (ความกำหนดหมายเพื่อละอกุศลวิตกและบาป
ธรรมทั้งหลาย)
9. วิราคสัญญา (ความกำหนดหมายวิราคะว่าเป็นธรรมละเอียด
ประณีต)
นี้ คือธรรม 9 ประการที่ควรให้เกิดขึ้น
(ฌ) ธรรม 9 ประการที่ควรรู้ยิ่ง คืออะไร
คือ อนุปุพพวิหาร1 9 ได้แก่
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
1. สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌานที่มีวิตก
วิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่
2. เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป บรรลุทุติยฌานที่มีความผ่องใส
ในภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร
มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่
3. เพราะปีติจางคลายไป มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุข
ด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า
‘ผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข’

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบข้อ 343 หน้า 357 ในเล่มนี้, องฺ.นวก. (แปล) 23/33/495

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :425 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฎิกวรรค [11. ทสุตตรสูตร] ธรรม 9 ประการ

4. เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อน
แล้ว บรรลุจตุตถฌานที่ไม่มีทุกข์และสุข มีสติบริสุทธิ์เพราะ
อุเบกขาอยู่
5. บรรลุอากาสานัญจายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘อากาศหาที่สุด
มิได้’ อยู่ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนด
นานัตตสัญญาโดยประการทั้งปวง
6. ล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ
วิญญาณัญจายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘วิญญาณหาที่สุดมิได้’ อยู่
7. ล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุอากิญ-
จัญญายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘ไม่มีอะไร’ อยู่
8. ล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุเนว-
สัญญานาสัญญายตนฌานอยู่
9. ล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง บรรลุ
สัญญาเวทยิตนิโรธอยู่
นี้ คือธรรม 9 ประการที่ควรรู้ยิ่ง
(ญ) ธรรม 9 ประการที่ควรทำให้แจ้ง คืออะไร
คือ อนุปุพพนิโรธ1 9 ได้แก่
1. กามสัญญาของผู้เข้าปฐมฌานดับไป
2. วิตก วิจารของผู้เข้าทุติยฌานดับไป
3. ปีติของผู้เข้าตติยฌานดับไป
4. ลมหายใจเข้าลมหายใจออกของผู้เข้าจตุตถฌานดับไป
5. รูปสัญญาของผู้เข้าอากาสานัญจายตนฌานดับไป
6. อากาสานัญจายตนสัญญาของผู้เข้าวิญญาณัญจายตนฌาน
ดับไป
7. วิญญาณัญจายตนสัญญาของผู้เข้าอากิญจัญญายตนฌาน
ดับไป

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบข้อ 344 หน้า 358 ในเล่มนี้, องฺ.นวก. (แปล) 23/31/491

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 11 หน้า :426 }